ปลาสลิด Trichogaster pectoralis

ปลาสลิด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียว กัน แต่มีลำตัวที่หนาและยาวกว่า หัวโต ครีบหลังในตัวผู้มีส่วนปลายยื่นยาวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบอกใหญ่ ตาโต ปากเล็กอยู่สุดปลายจะงอยปาก ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบยาวตามลำตัวตั้งแต่ข้างแก้มจนถึงกลางลำตัวสีดำ และมีแถบเฉียงสีคล้ำตลอดแนวลำตัวด้านข้างและหัว ครีบมีสีคล้ำ ขนาดโดยเฉลี่ย 10-16 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่สุดถึง 25 เซนติเมตร นับเป็นปลาในสกุล Trichogaster ที่ใหญ่ที่สุด............อ่านต่อ

ปลาสลิด Trichogaster pectoralis รับสอนทำอาหาร ปลาสลิดไร้ก้างทอดกรอบ

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสลิด


การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสลิด

จำหน่ายพันธุ์ปลาสลิดจำหน่ายพันธุ์ปลาสลิด

พันธุ์ปลาสลิดหรือปลาใบไม้

เป็นปลาน้ำจืด ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านของประเทศไทย มีแหล่งกำเนิดอยู่ในที่ลุ่มภาคกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pecteralis และนิยมเลี้ยงกันมากบริเวณภาคกลาง ส่วนที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดียว ปากีสถาน ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ นั้น เป็นพันธุ์ปลาที่ส่งไปจากเมืองไทย เมื่อประมาณ 80-90 ปีที่ผ่านมา และเรียกว่าสยาม หรือเซียมสำหรับแหล่งปลาสลิดที่มีชื่อเสียเป็นที่รู้สักว่ามีรสชาติดี เนื้ออร่อย คือ ปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ แต่ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างแพร่หลายทำให้น้ำธรรมชาติที่จะ ระบายลงสู่บ่อเลี้ยงปลาสลิดมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม ส่วนพื้นที่ดินพรุทางภาคใต้ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวก็สามารถใช้เป็นที่เลี้ยงปลาสลิดได้ เพราะปลาสลิดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อดทนต่อความเป็นกรด และน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยได้ดี มีห่วงโซ่อาหารสั้นคือกินแพลงก์ตอนเป็นอาหารต้นทุนการผลิตต่ำ โดยจะเลี้ยงอยู่ในนา คนเลี้ยงปลาสลิดเรียกว่า ชาวนาปลาสลิด และบ่อเลี้ยงปลาสลิดเรียก แปลงนาปลาสลิดหรือล้อมปลาสลิด (*) กรมประมงจึงได้ส่งเสริมให้เลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่จังหวัดอื่น เช่น จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และส่งเป็นสินค้าออกในรูปผลิตภัณฑ์ปลาสลิดเค็มตากแห้ง

อุปนิสัยพันธุ์ปลาสลิด


ปลาสลิดชอบอยู่ในบริเวณทีมีน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง ตามบริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำ เช่น ผักและสาหร่รย เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยกำบังตัวและก่อหวอดวางไข่ เนื่องจากปลาชนิดนี้โตเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอาหารพวกพืช ได้แก่ สาหร่าย พืชและสัตว์เล็ก ๆ จึงสามารถนำปลาสลิดมาเลี้ยงในบ่อและนาข้าวได้เป็นอย่างด

รูปร่างลักษณะพันธุ์ปลาสลิด


ปลาสลิดมีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ แต่ขนาดโตกว่า ลำตัวแบนข้างมีครีบ ท้องยาวครีบเดียว สีของลำตัวมีสีเขียวออกเทาหรือมีสีคล้ำเป็นพื้น และมีริ้วดำพาดขวางตามลำตัวจากหัวถึงโคนหาง เกล็ดบนเส้นข้างตัวประมาณ 42-47 เกล็ด ปากเล็กยืดหดได้ ปลาสลิดซึ่งมีขนาดใหญ่เต็มที่จะมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตรี

โรคของพันธุ์ปลาสลิด


ปลาสลิดไม่ค่อยจะเป็นโรคร้ายแรง หากน้ำในบ่อเสียจะสังเกตเห็นปลาขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ เพราะออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขก็คือต้องถ่ายน้ำเก่าออกและระบายน้ำใหม่เข้าหรือย้ายปลาไปไว้ในบ่อ อื่น โดยเฉพาะมักจะเกิดเห็บปลา ซึ่งมีลักษณะต้วแบน สีน้ำตาลใสเกาะติดตามตัวปลามาดูดเลือดของปลากิน ความเจริญเติบโตของปลาชะงักลง ทำให้ปลาผอม การกำจัดโดยระบายน้ำสะอาดเข้าไปในบ่อให้มาก ๆ ตัวเห็บก็จะหายไปได้
การป้องกันโรคระบาดอีกประการหนึ่งก็คือ ปลาที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ ถ้าปรากฏว่ามีบาดแผล ไม่ควรนำลงไปเลี้ยงรวมกันในบ่อ เพราะปลาที่เป็นแผลจะเป็นโรคราและติดต่อไปถึงปลาตัวอื่นได้


การสืบพันธุ์ปลาสลิด

ลักษณะเพศ ปลาสลิดตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาตัวผู้มีลำตัวยาวเรียว สันหลัง และสันท้องเกือบเป็นเส้นตรงขนานกัน มีครีบหลังยาวจรดหรือเลยโคนหาง มีสีลำตัวเข้มและสวยกว่าตัวเมีย ส่วนตัวเมียมีสันท้องยาวมนไม่ขนานกับสันท้องและครีบหลังมนไม่ยาวจนถึงโคนหาง สีตัวจางกว่าตัวผู้ ในฤดูวางไข่ท้องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด 1:1 เป็นปลาขนาดกลาง น้ำหนัก 10-12 ตัวต่อกิโลกรัม ดีที่สุด

การเพาะพันธุ์ปลาสลิด

ปลาสลิด สามารถผสมพันธุ์แลวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ยจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 6-7 นิ้ว หนัก 130-400 กรัม ปลาสลิดจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม หรือในฤดูฝน แม่ปลาตัวหนึ่ง ๆ จะสามารถวางไข่ได้หลายครั้ง แต่ละครั้งจะได้ปริมาณไข่ประมาณ 4,000-10,000 ฟอง ในฤดูวางไข่ ท้องแม่ปลาจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง ลักษณะของไข่ปลาสลิดมีสีเหลือง ทั้งนี้ ควรจัดที่ให้ปลาสลิดวางไข่ภายในเดือนมีนาคม โดยหลังจากที่ได้กำจัดศัตรู ระบายน้ำเข้า และปล่อยพันธุ์ปลาลงบ่อแล้ว ควรปลูกผักบุ้งรอบบริเวณชานบ่อ น้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ปลาสลิดจะเข้าไปก่อหวอดวางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะสามารถเลี้ยงตัวหลบหลีกศัตรูตามบริเวณชานบ่อนี้ได้
จำหน่ายพันธุ์ปลาสลิด

การจัดการบ่อเพาะพันธุ์ปลาสลิดเพื่อให้ลูกปลามีอัตรารอดสูง


1. ระบายน้ำเข้าบ่อผ่านตะแกรงที่มีช่องตาขนาด 1 มิลลิกรัมจนท่วมชานบ่อโดยรอบให้มีระดับสูง 20-30 เซนติเมตร ปลาจะเข้าก่อหวอดวางไข่มากขึ้น อาณาเขตบ่อก็จะกว้างขวางกว่าเดิมเป็นการเพิ่มที่วางไข่ และที่เลี้ยงตัวลูกปลามากขึ้น
2. สาดปุ๋ยมูล โคและมูลกระบือแห้งบนบริเวณชานบ่อที่ไขน้ำท่วมขึ้นมาใหม่ตามอัตราการใส่ปุ๋ย จะทำให้เกิดไรน้ำและผักบนชานบ่อเจริญงอกงามขึ้นอีกด้วย
3. ปล่อยให้ผักขึ้นรกในบริเวณชานบ่อ ผักเหล่านี้ปลาสลิดจะใช้ก่อหวอดวางไข่ และเป็นกำบังหลบหลีกศัตรูของลูกปลาในวัยอ่อนจนกว่าจะแข็งแรงเอาตัวรอดได้

การวางไขของพันธุ์ปลาสลิด

จำหน่ายพันธุ์ปลาสลิด
ก่อนปลาสลิดจะวางไข่ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเตรียมการเลือกสถานที่ และก่อหวอดซึ่งเป็นฟองน้ำละลายไว้ในระหว่างต้นผักบุ้งโปร่งไม่หนาทึบเกินไปเช่นเดียวกันปลากัด ปลากริมและปลากระดี่ ปกติปลาสลิดตัวเมียจะชอบวางไข่ในที่ร่มมากกว่ากลางแจ้ง
เมื่อเตรียมหวอดเสร็จแล้ว ปลาก็จะเริ่มผสมพันธุ์กันโดยตัวผู้จะเริ่มไล่ต้อนตัวเมียเข้าใต้บริเวณหวอด และรัดท้องตัวเมียให้ไข่ออกแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่ จากนั้นปลาตัวผู้จะอมไข่เข้าใต้หวอด ไข่จะลอยติดอยู่ที่หวอด
นอกจากการเพาะพันธุ์ปลาสลิดในบ่อแล้ว ยังเพาะในภาชนะได้อีกวิธีหนึ่งคือ ใช้ถังทรงกลมปากกว้าง 1.50 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร น้ำลึกประมาณ 40 เซนติเมตร วางไว้กลางแจ้ง โดยทำเป็นเพิงคลุมถังประมาณ 2 ใน 4 ของถังเพื่อกำบังแดดใช้ผักบุ้งลอยไว้ 3 ใน 4 ของถัง แล้วปล่อยแม่ปลาที่กำลังมีไข่แก่ 10 ตัว ตัวผู้ 10 ตัว หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาเพียง 4-6 วัน ปลาสลิดจะเริ่มก่อหวอดวางไข่ ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวและเติบโตเช่นเดียวกับการเพาะฟักในบ่อดิน จากนั้นให้ช้อนพ่อแม่ปลาออกแล้วเลี้ยงลูกปลาไปแ่กนโดยให้ไข่ผงหรือไรน้ำเป็น อาหาร 2 สัปดาห์ จึงให้รำผงละเอียดจนกว่าลูกปลาจะมีขนาดยาว 2 เซนติเมตร เพื่อปล่อยลงบ่อเลี้ยงต่อไป หรือจะนำหวอดไข่จากบ่อเพาะเลี้ยงมาฟักในถังทรงกลมก็จะช่วยให้ลูกปลาสลิดมี ชีวิตรอดเป็นจำนวนมากกว่าที่จะปล่อยให้เจริญเติบโตในบ่อเพาะเลี้ยงเอง เพราะในบ่อมักมีศัตรูปลาสลิดอยู่ เช่นแมลงในน้ำ กบ งู ปลากินเนื้อ ซึ่งจะคอยทำลายไข่และลูกปลา อัตราลูกปลาจะรอดน้อยกว่าการนำพ่อแม่พันธุ์มาเพาะในภาชนะ

การให้อาหารปลาสลิดพันธุ์ปลาสลิด

จำหน่ายพันธุ์ปลาสลิด จำหน่ายพันธุ์ปลาสลิด
อาหารที่ปลาสลิดชอบกินคือ ตะไคร่น้ำ รำละเอียด หรือปลายข้าวต้ม ปนกับผักบุ้งที่หั่นแล้ว แหนสด และปลวก
อาหารของลูกปลาวัยอ่อน ซึ่งมีอายุ 7-12 วัน ให้ตะไคร่น้ำและไรน้ำเป็นอาหาร เมื่อลูกปลามีอายุ 21 วัน-1 เดือน ให้รำข้าวละเอียดต้มปนกับผักบุ้งที่หั่นละเอียด แหนสด และปลวกบ้าง (ผัก 1 ส่วน รำ 2 ส่วน) ทั้งนี้ต้มผักให้เปื่อยเสียก่อน แล้วจึงเอารำลงไปเคล้าปั้นเป็นก้อนให้กินเพียงวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าระหว่าง 7.00-8.00 น. และเย็น ประมาณ 3-5% โดยใสอาหารบนแป้นซึ่งอยู่ใต้ระดับน้ำ 1 คืบ อย่าให้อาหารเหลือข้ามวันจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ ควรดีดน้ำให้เป็นสัญญาณ ปลาจะได้เคยชินและเชื่องด้วย
การเพิ่มอาหารธรรมชาติ โดยการใส่ปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้วัว ปุ๋ยขี้ไก่ ฯลฯ ต้องใส่ปุ๋ญก่อนปล่อยปลาอย่างน้อย 3 วัน ในอัตรา 2 ปีบต่อไร่ต่อ 7 วัน โดยตัดหญ้าบนแปลงในระดับยอดหญ้าที่โผล่พ้นน้ำ แล้วทิ้งกระจายไว้บนแปลงนา ตัดเพียงครึ่งหนึ่งของแปลง ครบ 15 วัน ตัดอีกครึ่งหนึ่ง สลับไปมาและรักษาระดับน้ำให้ท่วมหญ้าบนนาประมาณครึ่งเข่าตลอดเวลา หลังจากใส่ปุ๋ยคอก 4-5 ครั้ง แล้วตัดหญ้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าน้ำในแปลงมีสีใสมาก ให้ใส่ปุ๋ยคอกต่อ
ปลาขนาด 5 เซนติเมตร ใช้เวลาเพียง 7-8 เดือน ถ้าปลาขนาด 10 เซนติเมตร ใช้เวลาเลี้ยง 5-6 เดือน ส่วนการเลี้ยงลูกปลาจากพ่อแม่ปลาจะใช้เวลา 10-11 เดือน จับขายได้
สูตรอาหารพ่อแม่ปลาสลิด (สปช. 12)
ปลาป่น 56 กิโลกรัม
รำละเอียด 12 กิโลกรัม
กากถั่ว 12 กิโลกรัม
แป้งผงหรือปลายข้าวต้ม 14 กิโลกรัม
น้ำมันปลาสลิด 4 กิโลกรัม
วิตามิน แร่ธาตุ 2 กิโลกรัม
รวม 100 กิโลกรัม หมายเหตุ
ถ้าใช้แป้งจะได้อาหารในลักษณะเป็นผง แต่ถ้าใช้ปลายข้าวต้ม ก็จะได้อาหารเปียกต้องตากแดดจึงจะเก็บไว้ได้นานหากไม่ต้องการใช้แป้งหรือปลายข้าวให้เพิ่มรำเป็น 26 กิโลกรัม

การจับพันธุ์ปลาสลิด

เมื่อมีความต้องการจะจับลูกปลาสลิดวัยอ่อนไปแยกเลี้ยง ควรใช้กระชอนผ้าช้อนตักและใช้ขัน หรือถังตักลูกปลาทั้งน้ำและตัวปลาเพื่อมิให้ปลาช้ำ ถ้าเป็นปลาที่โตแล้วโดยสวิงตาถี่ช้อน แล้วใช้ขันตักขึ้นจากสวิงอีกชั้นหนึ่ง หรือลดระดับน้ำลงทีละน้อยเพื่อให้ปลารู้สึกตัว และหนีลงไปอยู่ในคู โดยเดินตรวจบนแปลงนาว่าไม่มีปลาค้างบนแปลงนาเอาอวนเปลวางไว้ในคูตรงจุดที่ลึกที่สุด สูบน้ำออกจากคูทีละน้อย ปลาจะหนีลงไปอยู่ในคูและในอวนจึงรวบหูอวนขึ้น ปลาจะติดอยู่ในอวน
ในกรณีที่ต้องการจับปลาเพื่อใช้ประกอบอาหารประจำวัน ควรใช้ลอบยืนวางไว้ตามมุมบ่อ ถ้าใช้แหทอดหรือสวิงตักที่แป้นอาหารปลาจะเข็ดไม่มากินอาหารหลายวัน
ระยะเวลาที่ควรจับปลาให้หมดทั้งบ่อเพื่อจำหน่าย คือ เดือนมีนาคม เพราะเป็นฤดูที่ปลาไม่วางไข่ โดยใช้เฝือกล้อมและสวิงตักออกจากเฝือกที่ล้อมนั้น แล้วคัดปลาเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงรุ่นต่อไป โดยใช้สูตรอาหาร สปช. 12 วันละ 2% ของน้ำหนักปลาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนเพาะฟักวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น

การลำเลียงพันธุ์ปลาสลิด

1. ก่อนการลำเลียง ควรพักปลาไว้ในที่กว้าง เช่น พักในถังขนาดใหญ่ และไม่ต้องให้อาหาร
2. ใช้ภาชนะปากกว้าง เช่น ปีบหรือถัง บรรจุน้ำ 3 ใน 4 ของภาชนะบรรจุ ปลาขนาดใหญ่ในอัตราปีบละ 4 ตัว หรือขนาดกลาง 80 ตัว ถ้าเป็นลูกปลาขนาดเล็กก็เพิ่มจำนวนได้มากขึ้นตามความเหมาะสม
3. ลอยผักบุ้งในภาชนะที่ใช้ลำเียง และควรมีฝาที่มีช่องตาโปร่ง หรือตาข่ายคลุมภาชนะไม่ให้ปลากระโดดออก
4. ระหว่างเดินทางพยายามเปลี่ยน้ำทุก 12 ชั่วโมง โดยระวังอย่าให้ปลาบอดช้ำ
5. ให้ภาชนะที่บรรจุปลาอยู่ในที่ร่มเย็นเสมอ
6. ภาชนะลำเลียงปลา ควรตั้งให้สนิทอย่าให้โคลงเคลง เพราะอาจทำให้ปลาเมาน้ำได้
7. เมื่อถึงปลายทาง ต้องรีบย้ายปลาไปอยู่ในภาชนะที่กว้างใหญ่แต่ถ่ายเทน้ำใหม่ หรืออาจปล่อยลงบ่อเลี้ยงเลยก็ได้

การป้องกันและกำจัดศัตรูพันธุ์ปลาสลิด

ศัตรูของปลาสลิด มีหลายประเภท ดังนี้คือ
1. สัตว์ดูดนม เช่น นาก
2. นกกินปลาย เช่น นกกระเต็น นกยาง นกกาน้ำ และเหยี่ยว
3. สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู เต่า ตะพาบน้ำ ฯลฯ
4. กบ เขียด
5. ปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาไหล จะกินปลาสลิดขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ส่วนปลากริม ปลากัด ปลาหัวตะกั่ว ปลาหมอ มวนวน แมงดาสวน จะกินไข่ปลาสลิดและลูกปลาในวัยอ่อน
ตามธรรมชาติของปลาสลิดย่อมจะรู้จักหลบหลีกศํตรูได้ดี แต่เมื่อนำมาเลี้ยงไว้ในบ่อ ปลาสลิดยากที่จะหาทางหลบหลีกศัตรูได้ จึงจำเป็นจะต้องช่วยโดยการป้องกันและกำจัด
การป้องกันและกำจัดพวกสัตว์ดูดนม สัตว์เลื้อยคลาน โดยทำรั้วล้อมรอบก็เป็นการป้องกันได้ดี ส่วนสัตว์จำพวกนกต้องทำเพิงคลุมแป้นอาหาร เพื่อป้องกันนกโฉบปลาในขณะที่ปลากินอาหารอยู่เป็นกลุ่ม สำหรับปลากินเนื้อชนิดต่าง ๆ นั้น ต้องระวังผักที่จะเก็บลงมาปลูกในบ่อเพราะอาจจะมีไขปลาติดมาด้วย โดยเฉพาะท่อระบายน้ำเข้าต้องพยายามใช้ลวดตาข่าวยที่มีช่องตาขนาดเล็กกรองน้ำที่จะผ่านลงในบ่อ และหมั่นตรวจตะแกรงถ้าชำรุดควรรีบเปลี่ยนใหม่
อนึ่ง การล้อมรอบคันบ่อใช้ตาข่ายไนล่อนให้สูงจากพื้นดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร ส่วนล่างของตาข่าวยให้ฝังดินลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ถ้าเป็นที่ลุ่มควรต่อตาข่ายไนลอน 2 ผืน หรือเสริมเฝือกสูงประมาณ 2 เมตร พร้อมทั้งหมั่นตรวจสอบ หากชำรุดต้องรีบซ่อมแซม

การแปรรูปปลาสลิด

การทำ ปลาสลิดเค็มเป็นการแปรรูปอย่างหนึ่งซึ่งช่วยถนอมปลาสลิดให้สามารถเก็บไว้บริโภคได้เป็นเวลานานมากขึ้น และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วทุกภูมิภาคทั้งยังส่งเป็นสินค้าออกอีกส่วนหนึ่งด้วย
วิธีทำ
ขอดเกล็ดโดยใช้มีดหรือช้อนสังกะสีบากเป็นฟันเลื่อย ตัดหัว ควักไส้ แยกหัวและไส้ไปบดสับเป็นอาหารเป็ดหรือไก่ (สำหรับไส้ถ้าเป็นฤดูที่มีมันมากให้เก็บเคี่ยวน้ำมัน น้ำมันปลาสลิดมีราคาดีเพราะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น อุตสาหกรรมฟอกหนัง สี และอาหารสัตว์)
เคล้าปลาที่ทำเสร็จแล้วกับเกลือในอัตราส่วน 3:1 คือ ปลา 3 : เกลือ 1 หมักไว้ 1 คืน ในถังไม้ โอ่งเคลือบ กะละมัง หรือเข่ง รุ่งเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ล้างปลาให้สะอาดเรียงปลาแผ่ครีบให้สวยงามบนตะแกรงไม้โปร่ง
ระยะเวลาตากแห้ง ตั้งแต่แดดเริ่มถึงเวลาประมาณ 11.00 น. ให้กลับข้างจนถึงเวลาประมาณ 15.00 น. หรือ 3 โมงเย็น จึงเก็บปลาลงเข่งเรียงให้ดี ลักษณะนี้เรียกว่า ปลาสลิด ซึ่งเนื้อจะนุ่ม ถ้าต้องการปลาแห้งกว่านี้ ตากจนถึงเย็น แล้วใช้พลาสติกคลุมไว้ตลอดคืน รุ่งเช้าเอาผ้าพลาสติกออก ตากต่อจนถึงเย็นโดยกลับปลาในตอนกลางวันเช่นเดิม ปลาชนิดนี้เรียกว่า ปลาสองแดด เนื้อจะแห้งแข็ง เวลาทอดจะกรอบเคี้ยวได้เกือบหมดทั้งตัว
วิธีการรับประทานปลาสลิด
การทอด ถ้าจะให้ดีขึ้นควรนึ่งก่อน ค่อย ๆ แซะก้างใหญ่ตรงกลางออก ประกบไว้เหมือนเดิมแล้วทอดจะได้ปลาสลิดไม่มีก้างกินอร่อยหรือทอดอย่าให้สุก ทุบตรงสันหลังปลาเบา ๆ อย่าให้หนังฉีก นำลงทอดใหม่เนื้อปลาจะฟู อร่อย ถ้าจะให้อร่อยยิ่งขึ้นให้ทอดกรอบแกะเอาแต่เนื้อมายำกับมะม่วง ใส่พริกขี้หนู หอม กระเทียม ใบสะระแหน่ และมะม่วงสับ ชิมรสตามชอบ

การคำนวณหาจำนวนพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด

การคำนวณหาจำนวนพ่อแม่พันธุ์โดยคิดจากลูกปลา
ลูกปลา 300 ตัว มาจากแม่ปลา 1 แม่
ลูกปลา 75,000 ตัว มาจากแม่ปลา (1 x 75,000)/300 = 250 แม่
แม่ปลา 250 ตัว จะให้ลูกปลา 75,000 ตัว


ที่มาข้อมูล งานเอกสารคำแนะนำ กองส่งเสริมการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-salid.php


ภัตตาคารบ้านทุ่ง - ปลาสลิด  29May11 
http://youtu.be/U2e3MX7zah4

http://youtu.be/2Xv4bfPQk_ghttp://youtu.be/WwvOO465v1whttp://youtu.be/ivCj9VpXLzE











การเพาะเลี้ยงปลาสลิด file pdf
http://bettaquality.herobo.com/downloads/f_salid.pdf

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...